อนาคตประเทศไทย

อนาคตประเทศไทย

วิชาทักษะการเรีัียนรู้

ลักษณะของคนคิดเป็น มี 8 ประการ


1. มีความเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งธรรมดา สามารถแก้ไขได้

2. การคิดที่ดีต้องให้ข้อมูลหลายๆด้าน (ตนเอง สังคม วิชาการ)

3. รู้ว่าข้อมูลเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

4. สนใจที่จะวิเคราะห์ข้อมูลอยู่เสมอ

5. รู้ว่าการกระทำของตนมีผลต่อสังคม

6. ทำแล้ว ตัดสินใจแล้ว สบายใจ และเต็มใจรับผิดชอบ

7. แก้ปัญหาชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ

8. รู้จักชั่งน้ำหนักคุณค่ากับสิ่งรอบ ๆ ด้าน


สาระสำคัญ

คิดเป็น (khit pen) เป็นปรัชญาพื้นฐานของการศึกษานอกโรงเรียน เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นจากหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาไทย ผู้ก่อตั้งทฤษฎีการคิดเป็นคือ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ท่านผู้นี้เป็นผู้นำแนวคิดเรื่องการคิดเป็น และนำมาเผยแพร่จนได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งครั้งแรกได้นำมาใช้ในวงการศึกษานอกโรงเรียนเมื่อราว พ.ศ. 2513 ดร.โกวิท วรพิพัฒน์และคณะ ได้ประยุกต์แนวความคิด คิดเป็น มาใช้ในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐานระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2524 โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ เป็นต้น ซึ่งถือว่าแนวคิด คิดเป็น เป็นปรัชญาที่นำมาใช้กับการพัฒนางานการศึกษาผู้ใหญ่ และต่อมาได้นำมากำหนดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาไทยทุกระดับ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องการสอนคนให้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น (อุ่นตา นพคุณ : 19)

ปรัชญาคิดเป็น อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือ ทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันได้ โดยการปรับปรุงตัวเราให้เข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม หรือโดยการปรับปรุงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา หรือปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมให้ประสมกลมกลืนกัน หรือเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน คนที่สามารถทำได้เช่นนี้ เพื่อให้ตนเองมีความสุขนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้มีความคิดสามารถคิดแก้ปัญหา รู้จักตนเองและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จึงจะเรียกได้ว่า ผู้นั้นเป็นคนคิดเป็น หรืออีกนัยหนึ่งปรัชญาคิดเป็น มาจากความเชื่อพื้นฐานตามแนวพุทธศาสนา ที่สอนให้บุคคลสามารถพ้นทุกข์ และพบความสุขได้ด้วยการค้นหาสาเหตุของปัญหา สาเหตุของทุกข์ ซึ่งส่งผลให้บุคคลผู้นั้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

คิดเป็น เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานชีวิตแตกต่างกัน มีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน มีความ

ต้องการที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนล้วนมีความต้องการที่จะมีความสุขอย่างอัตภาพเหมือนกัน

เมื่อทุกคนต้องการมีความสุขเหมือนกัน จึงต้องมีกระบวนการเพื่อให้เกิดความสุขคือกระบวนการคิดเป็น โดยมีฐานข้อมูลทางวิชาการ ทางสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลของตนเองมาเป็นตัวการในการช่วยตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจได้แล้วจึงเลือกหนทางในการดำเนินชีวิต ก็จะเกิดความสุขจากการตัดสินใจถูกต้อง เมื่อดำเนินการแล้ว และยังเกิดปัญหา หรือยังไม่เกิดความสุขจึงกลับมาย้อนดูความผิดพลาดจากข้อมูลว่าวิเคราะห์ข้อมูลครบหรือยัง แล้วจึงตัดสินใจใหม่วนเป็นวัฎจักร "คิดเป็น" เพื่อการแก้ปัญหาที่ยังยืน แล้วเกิดสุขอย่างอัตภาพ เป้าหมายสุดท้ายของการเป็นคน “คิดเป็น” คือความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่นทั้งทางด้านวัตถุ กายและใจ

ความหมายของ “คิดเป็น”

ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ “คิดเป็น” ว่า “บุคคลที่คิดเป็นจะสามารถเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระบบ บุคคลผู้นี้จะสามารถพินิจพิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ และสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทางเลือก เขาจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละเรื่อง โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัวค่านิยมของตนเอง และสถานการณ์ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ ประกอบการพิจารณา”

การ “คิดเป็น” เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา คือ มีจุดเริ่มต้นที่ปัญหาแล้วพิจารณาย้อน ไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้านตนเอง ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ต่อจากนั้นก็ลงมือกระทำ ถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง แต่หากบุคคลยังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง และกระบวนการนี้ยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข

สรุปความหมยของ “คิดเป็น”

- การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาและดับทุกข์

- การคิดอย่งรอบคอบเพื่อการแก้ปัญหา โดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม

และข้อมูลวิชาการ

1) หลักการของการคิดเป็น

1. คิดเป็น เชื่อว่า สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้

2. คนเราจะแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ

อย่างน้อย 3 ประการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคม และวิชาการ

3. เมื่อได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยการไตร่ตรองรอบคอบ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคม และวิชาการ ทั้ง 3 ด้านนี้แล้ว ย่อมก่อให้เกิดความพอใจในการตัดสินใจนั้นและควรรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น

4. แต่สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การคิดตัดสินใจอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

2) แนวคิดเรื่อง คิดเป็น (Khit Pen)

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า “คิดเป็น” เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นจากหลักการและแนวคิดของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ซึ่งเป็นนักการศึกษาไทย และอดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน และอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อุ่นตา นพคุณ (อ้างอิงจากชีวิตพ่อเล่า : ดร.โกวิท วรพิพัฒน์. 2544 : 651 – 652) กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง “คิดเป็น” ว่าได้นำมาใช้ในวงการศึกษานอกโรงเรียน แล้วนำมากำหนดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาไทยทุกระดับและใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยนักการศึกษาไทยหลายท่านพยายามนำเรื่อง “การคิดเป็น” มาพัฒนาการจัดการศึกษาไทย และสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยจนเป็นที่ยอมรับ และเกิดเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษาไทยที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องการสอนคนให้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น” การคิดเป็นของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นกระบวนการคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการใช้ข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการมาประกอบการคิดและตัดสินใจ

นอกจากนี้ ทองอยู่ แก้วไทรฮะ และจันทร์ ชุ่มเมืองปัก (อ้างอิงจากชีวิตพ่อเล่า: ดร.โกวิท วรพิพัฒน์. 2544 : 654 – 655) อธิบายเพิ่มเติมว่า คน “คิดเป็น” คือคนที่มีความสุขเมื่อได้ปรับปรุงตนเองและสังคมสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกันด้วยกระบวนการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยพิจารณาข้อมูลอย่างน้อย 3 ประการคือ

1) การรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ ตน (Self) โดยพิจารณาความพร้อมในด้านการเงิน สุขภาพอนามัย ความรู้ อายุ และวัย รวมทั้งความมีเพื่อนฝูง และอื่น ๆ

2) สังคมและสิ่งแวดล้อม (Society and Environment) หมายถึง คนอื่นนอกเหนือ จากเราและครอบครัว จะเรียกว่าบุคคลที่ 3 ก็ได้ คือดูว่าสังคมเขาคิดอย่างไรกับการตัดสินใจของเรา เขาเดือดร้อนไหม เขารังเกียจไหม เขาชื่นชมด้วยไหม เขามีใจปันให้เราไหม รวมตลอดถึงเศรษฐกิจและสังคมนั้น ๆ เหมาะกับเรื่องที่เราตัดสินใจหรือไม่ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี คุณธรรมและค่านิยมของสังคม

3) ความรู้ทางวิชาการ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้วิชาการในเรื่องที่ตรงกับการที่เราจะต้องตัดสินใจ ซึ่งถือเป็นหนังสือหลัก

แนวความคิดเรื่องคิดเป็นมีองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงปรัชญา 3 ส่วน กล่าวคือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ คือ ความสุข มนุษย์จึงแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่ความสุขนั้น แต่เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานทั้งทางกายภาพ อารมณ์ สังคม จิตใจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ความต้องการของคนแต่ละคนมีความแต่ต่างกัน การให้คุณค่า และความหมายของความสุขของมนุษย์จึงแตกต่างกัน การแสวงหาความสุขที่แตกต่างกันนั้น มนุษย์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกันสภาพแวดล้อมของตนเองซึ่งโดยหลักใหญ่ๆแล้ว วิธีการปรับตัวของมนุษย์ ได้แก่ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือไม่ก็ปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับตนอง หรืออาจปรับทั้งตนเองและสภาพแวดล้อมเข้าหากัน จนที่สุดแล้ว

ไม่สามารถปรับตัวได้มนุษย์ก็จำเป็นจะต้องหลีกออกจากสภาพแวดล้อมนั้น เพื่อไปหาสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อที่จะปรับตัวให้มีความสุขได้ใหม่ แต่แท้จริงแล้ว การที่มนุษย์จะเลือกปรับตัวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนแต่ละคน การตัดสินใจนั้น จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งโดยหลักการของการคิดเป็นมนุษย์ควรจะใช้ข้อมูลอย่างน้อย 3 ด้านคือ ข้อมูลตนเอง ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางด้านกายภาพ สุขภาพอนามัย ด้านจิตใจและความพร้อมต่าง ๆ ข้อมูลสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมครอบครัว สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมตลอดจนกรอบคุณธรรม จริยธรรม และข้อมูลวิชาการ คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องคิด ตัดสินใจนั้น ๆ ว่ามีหรือไม่ เพียงพอ ที่จะนำไปใช้หรือไม่ การใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านนี้จะช่วยให้การคิดตัดสินใจเพื่อแสวงหาความสุขของมนุษย์เป็นไปอย่างรอบคอบ เรียกวิธีการคิดตัดสินใจนี้ว่า “คิดเป็น” และเป็นความคิดที่มีพลวัตคือ ปรับเปลี่ยนได้เสมอ เมื่อข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนไป

กิจกรรม กศน.เขตพระนคร

กศน.แขวงบ้านพานถม นำนักศึกษาถวามยเทียนพรรษาและเครื่องสังฆทาน ณ วัดใหม่อมตรส แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2555 เวลา 13.00 น. กศน.แขวงบ้านพานถม นำนักศึกษา *จำนวน 30 คน* ถวายเทียนพรรษาและเครื่องสังฆทาน ณ วัดใหม่อมตรส แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร

กศน.เขตพระนคร จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ

*ตามนโยบายปลัดกระทรวงศึกษาธิการ*ให้หน่วยงาน/สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ ๖๐ พรรษา ( ๕ รอบ ) ในวันที่ ๒๘ ก.ค.๒๕๕๕ โดยให้ดำเนินงานในระหว่าง ๒๑-๓๑ ก.ค.๒๕๕๕ นั้น ในการนี้ *กศน.เขตพระนคร* ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้ ๑. ติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมประดับธงตราสัญลักษณ์ ณ บริเวณหน้าสำนักงาน กศน.เขตพระนคร ๒. ในวันที่ ๒๔ ก.ค. ๒๕๕๕ *นางสาวสมใจ จินตนาผล *ผู้อำนวยการ กศน.เขตพระนคร * * นำคณะครูและนักศึกษา ร่วมทำความสะอาด ณ บริเวณลานพลับพลาม... เพิ่มเติม »

กศน.เขตพระนคร จัดวิชาชีพ โครงการฝึกทักษะอาชีพเฉลิมพระเกียรติ "๖๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ ๒๕๕๕"

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2555 *กศน.เขตพระนคร* ร่วมจัดวิชาชีพ โครงการฝึกทักษะอาชีพเฉลิมพระเกียรติ "๖๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ ๒๕๕๕" ณ *ท้องสนามหลวง *เขตพระนคร กรุงเทพ โดยมีวิชาชีพที่จัดสอน ได้แก่ *โมบายมงคล แหนมหมูเลิศรส พวงมะโหด นกกระจิบโปรยทาน ผลไม้การบูร ตะเกียบแฟนซี *

กศน.แขวงบ้านพานถมร่วมโครงการ "คุณธรรม จริยธรรม"นักเรียน โรงเรียนวัดใหม่อมตรส

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2555* กศน.แขวงบ้านพานถม *ร่วมกับภาคีเครือข่าย ประธานชุมชนวัดใหม่อมตรส ร่วมโครงการ "คุณธรรม จริยธรรม" ของโรงเรียนวัดใหม่อมตรส ณ ชั้น 2 ศาลาการเปรียญ วัดใหม่อมตรส

กศน.เขตพระนคร ร่วมรับเสด็จ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประกอบพิธีถวายเทียนพรรษาวัดอินทรวิหาร

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2555 * กศน.แขวงบางขุนพรหม แขวงบ้านพานถม แขวงวัดสามพระยา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ* ร่วมรับเสด็จ * ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี *ทรงประกอบพิธีถวายเทียนพรรษา 6 9 ต้น ณ วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพ

หนังสือออก